เลิกทาส
สมเด็จพระปิยมหาราชกับการเลิกทาส สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมาก
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองจนได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" พระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งคือ "การเลิกทาส" ซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่มากของประวัติศาสตร์ไทย
พระราชดำริแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่จะเลิกทาสนั้น แม้ตามหลักฐานจะปรากฏว่า ได้เริ่มมีเค้ามาตั้งแต่ต้นรัชกาลก็ตาม แต่ที่เริ่มปรากฏเป็นรูปเป็นร่าง ขึ้นอย่างแท้จริงก็เป็นเวลาหลายปีต่อมา ทั้งนี้เพราะการบริหารราชการแผ่นดินในรัชสมัยของพระองค์ท่านนั้นทรงโปรดระบบการทำงานที่มีลักษณะรีบเตรียมให้พร้อม พร้อมแล้วรีบทำ ไม่ทรงโปรดการหักด้ามพร้าด้วยเข่า หรือ อาการผลีผลามตามอารมณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เกี่ยวกับการประกาศเลิกทาสก็เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากการประกาศเป็นขั้นตอนตามลำดับมา
สมเด็จพระปิยมหาราชทรงตระหนักเป็นอย่างดีว่า ทาสก็จัดเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านสังคมและการเมือง ที่สำคัญคือ ทางด้านเศรษฐกิจ พระองค์จังทรงมีพระราชดำริ เลิกทาสจึงตรัสปรึกษาข้าราชการ แต่พระองค์ก็ทรงพบอุปสรรค เพราะบรรดาข้าราชบริพารทั้งหายไม่เห็นชอบด้วยกับพระองค์ แต่พระองค์มิได้ทรงท้อถอย ทรงดำเนินกุศโลบายอย่างสุขุมรอบคอบ และเป็นไปตามลำดับขั้น นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อช่วยไถ่ถอนทาส และพระราชทานทุนทรัพย์เพื่อให้ลูกทาส ได้ทำมาหากินต่อไปนอกจากนี้พระองค์ยังทรง จัดตั้งโรงเรียนสำหรับลูกทาสขึ้นมา
ในที่สุด็มาถึงวาระอันนับได้ว่าอิสรภาพและค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของปวงชนชาวไทย ได้บรรลุถึงหลักชัยอย่างแน่นอน โดยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระปิยมหาราชจากการตราพระราชบัญญัติลักษณะเลิกทาส ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ให้คงความเป็นไทเป็นสัญลักษณ์สำคัญประการหนึ่งของชาติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)